TKP HEADLINE

กศน.ตำบลบางสระเก้า


เมื่อในอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่ชาวบ้านจะเข้ามาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัว เดิมพื้นที่นี้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นที่เนินและที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่แถบชายทะเล มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน มีการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ ต้นยางนา ต้นยางใต้ ตะเคียน ต้นไผ่ ต้นประดู่ ซึ่งเป็นพืชน้ำจืด และป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง ต้นจาก ต้นกวาด ต้นแสม ต้นลำพู ต้นลำแพน ต้นกะสัก ต้นโปรง ต้นกะบูน ซึ่งเป็นพืชน้ำเค็ม เนื่องจากนี้ยังเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าเบญจพรรณและป่าชายเลน จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า เสือลายพาดกลอน เสือปลา เสือแปลง นากทะเล จระเข้น้ำเค็ม ลิงแสม (ปัจจุบันสัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่แล้ว) นอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิด ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงจากการบอกเล่าและพบเห็นของชาวบ้านในรุ่น ปู่, ย่า ที่เล่าสืบต่อกันมา และหลักฐานอ้างอิงที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของช้างป่า ก็คือ แอ่งดินที่ช้างป่ามานอนรวมกันและเกลือกกลิ้ง เมื่อมีฝนตกก็จะมีน้ำขังในแอ่งดิน ช้างได้อาศัยน้ำที่ขังอยู่สำหรับกินและนอนเล่นจนมีขนาดกว้างและลึกมากขึ้น มีปรากฏทั่วไปในพื้นที่จำนวน 9 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า “สระ” ต่อมาชาวบ้านได้ใช้จำนวนสระมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า  เรียกว่า “บ้านบางสระเก้า  อ่านเพิ่มเติม...

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวเบญจวรรณ  ชาตกุล
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวเบญจวรรณ  ชาตกุล

กศน.อำเภอสอยดาว

 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอยดาว ตั้งอยู่ในเขตที่ราชพัสดุอำเภอสอยดาว มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ โดยมีนางอาภรณ์ สวัสดี ดำรงตำแหน่งผู้บริหารคนแรก ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2536 เดิมศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอยดาว อาศัยบ้านพักข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการอำเภอสอยดาวเป็นที่ทำการชั่วคราว ประมาณ 1 ปี ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บ้านเช่าซึ่งได้จัดเป็นห้องสมุดชั่วคราวและจัดสอนอาชีพ จนปีพ.ศ.2539 นายสมคิด ธนูวัฒนา นายอำเภอสอยดาว ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาว แต่ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากนักศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำoเภอสอยดาวและประชาชนอำเภอสอยดาว ในการต่อเติมอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาวเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมสายสามัญและกิจกรรมสายอาชีพจนถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม..

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวดลฤทัย แซ่ลี้
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวดลฤทัย แซ่ลี้

ห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาว

 


ห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาวตั้งอยู่ในเขตที่ราชพัสดุอำเภอสอยดาว ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 โดยได้รับงบสนับสนุนการก่อสร้างจากนายสมคิด ธนูวัฒนา นายอำเภอสอยดาว และต่อมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากนักศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนและประชาชนอำเภอสอยดาว ในการก่อสร้างอาคารสำนักงาน ซึ่งห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาวตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอยดาว ห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาวเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษากศน.อำเภอสอยดาวและประชาชนอำเภอสอยดาว เปิดให้บริการทุกวัน(วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์) ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ห้องสมุดประชาชนอำเภอสอยดาวก่อสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด สนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน พัฒนาสมองให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด อ่านเพิ่มเติม...

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวดลฤทัย แซ่ลี้

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวดลฤทัย แซ่ลี้




วัดเขาสอยดาวเหนือ

 


ในปีพุทธศักราช 2535 กลุ่มชาวบ้านผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้พร้อมใจกันซื้อที่ดิน(ที่ตั้งวัดในปัจจุบันนี้) ถวายแด่พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวัด

ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2535 พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิมด ได้ส่งพระสงฆ์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านเข้ามาปฏิบัติธรรมรับฉลองศรัทธาญาติโยม เป็นปฐมฤกษ์ และได้พัฒนาก่อสร้างเสนาสนะตามสมควรแก่ความจำเป็นเรื่อยมา เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ครัวห้องสุขา กาลต่อมาจึงยกฐานะจากที่พักสงฆ์เป็นลำดับในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ตามลำดับ วัดเขาสอยดาวเหนือตั้งอยู่ในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนด โดยมีขอบเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดพื้นที่เอกชนมีลำรางกันเขต

ทิศใต้ ติดพื้นที่เอกชนมีลำรางกันเขต

ทิศตะวันออก ติดพื้นที่เอกชน

ทิศตะวันตก ติดภูเขาเป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว

สาเหตุที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวจึงมองดูแล้วมีความร่มรื่น สวยงาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ ป่าไม้ และขุนเขา บรรยากาศของพื้นที่สีเขียวแห่งเทือเขาสอยดาว ที่อุดมไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่าและต้นน้ำลำธาร อ่านเพิ่มเติม...


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย ท่านพระครูวิบูลธรรโมภาส ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย ท่านพระครูวิบูลธรรโมภาส


วัดเขาแจงเบง

 


เมื่อปีพุทธศักราช 2518 ประชาชนหมู่บ้านคลองแจงและหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ได้กำหนดเขตพื้นที่ป่าบนเขาแจงเบง เพื่อเป็นที่สร้างวัดในบวรพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เป็นวัดที่ปฏิบัติกรรมฐาน จึงพากันไปกราบนมัสการ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิญาณเถร(ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย) ประธานสงฆ์วัดเขาสุกุม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อรับไว้พิจารณาสร้างวัดในโอกาสต่อไป

ครั้นเวลาผ่านมาถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2524 พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิญาณ(ท่านพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย)ได้มีบัญชาให้พระคุณเจ้าท่านครูบาคำพันธุ์ คมฺภีรญาโณ เจ้าอาวาสวัดเขาสุกิมในขณะนั้น นำคณะพระภิกษุสามเณรจากวัดเขาสุกิม รวม 11 รูป มาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ซึ่งในระยะแรกได้บำเพ็ญธรรมอยู่ในเสนาสนะป่าใกล้กับหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ อันอยู่ห่างจากเขาแจงเบงประมาณ 2 กิโลเมตร

ในระหว่างที่บำเพ็ญธรรมอยู่ในเสนาสนะป่าดังกล่าวนั้น ก็ได้รับความอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย 4 จากประชาชนในละแวกชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นอย่างดี อาทิเช่น บ้านทรัพย์สมบูรณ์ บ้านคลองแจง บ้านสวนส้ม บ้านซับตารี บ้านสะตอน บ้านทรัพย์เจริญ เป็นต้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการชายแดน ทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ตลอดถึงชาวจันทบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นอีกหลายจังหวัด อ่านเพิ่มเติม..

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย พระอาจารย์วิษณุ หาสจิตฺโต ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายเปรมศักดิ์ ไกรพั


ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาสอยดาว


เนื่องจากสถานการณ์พื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงจากประมาณ 171 ล้านไร่ หรือ 53.3 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด จนเหลือเพียง 96.6 ล้านไร่ หรือ 25.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ.2520 และมีแนวโน้มลดลงอย่าต่อเนื่องตามลำดับ ดังนั้นกรมป่าไม้โดยอนุรักษ์สัตว์ป่าเดิม จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการส่งเสริมและเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ความเข้าใจ ให้เกิดความร่วมมือด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจึงจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้ความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติของเยาวชนและประชาชนทั่วไป

พ.ศ.2535 จัดตั้งขึ้นโดยใช้ชื่อ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติสัตว์ป่าทรายขาว”ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเป็น สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาว”และต่อมาในปี พ.ศ.2556 เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาสอยดาว”ในปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม...

ข้อมูลเนื้อหา  เรื่องราว  เขียนโดย  นายปาณัสม์ ชูช่วย
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ  โดย  นายวิทยา มูลวัน


ประติมากรรมปูนปั้นลายไม้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเขาแก้ว



ประติมากรรมปูนปั้นลายไม้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเขาแก้ว ถูกถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่นและยังถูกถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจ รวมถึงนักเรียน/นักศึกษา อีกด้วย ประติมากรรมปูนปั้นลายไม้ สามารถสร้างได้ตั้งแต่ผลงานชิ้นเล็กๆไปจนถึงผลงานชั้นใหญ่ๆกันเลยทีเดียว โดยอาจจะเริ่มฝึกฝนจากการทำชุดโต๊ะ เก้าอี้ กระถางต้นไม้ อ่างล้างมือ ปูพื้นไปก่อน แล้วจึงค่อยๆเริ่มสร้างชิ้นงานระติมากรรมปูนปั้นลายไม้ ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆตามความชำนาญของตัวผู้สร้างชิ้นงานเอง นายเชิดศักดิ์ กองสุข ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมู่ที่10 ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เล่าว่า เริ่มต้นจากการที่ตนเองว่างงานพอดี และประกอบกับการที่ตนเองชอบพวกงานที่เกี่ยวกับศิลปะ จากนั้นอยู่มาวันนึงตนเองก็ได้เจอกับผู้ที่ทำงานประติมากรรมปูนปั้นลายไม้แบบนี้พอดี จึงสมัครเข้าไปขอทำงานด้วย ช่วงแรกที่ได้เข้าไปทำงาน ก็เป็นแค่คนคอยผสมปูนให้กับทางช่างที่เป็นผู้ขึ้นรูปประติมากรรมปูนปั้นลายไม้ แล้วก็ได้รับโอกาสให้เริ่มฝึกลงมือทำประติมากรรมปูนปั้นลายไม้ที่เป็นชิ้นงานของตนเองเรื่อยมา แต่ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาฝีมือ และฝึกลองทำงานประติมากรรมปูนปั้นลายไม้ในหลากหลายรูปแบบมาเรื่อยๆ จนชำนาญ และได้นำมาประกอบเป็นอาชีพอย่างทุกวันนี้ อ่านเพิ่มเติม


เรียบเรียงเรื่องราว โดย  นางธารทิพย์  สัจวาที
ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย  นายเชิดศักดิ์  กองสุข
ภาพถ่ายทุกภาพ  เป็นผลงานประติมากรรมปูนปั้นลายไม้  
ขอขอบคุณ นายเชิดศักดิ์  กองสุข  ทุกภาพค่ะ

การทำสวนยางพารา อาชีพหลักสร้างรายได้ของชาวบ้านตำบลเขาแก้ว

 


การทำสวนยางพารา

อาชีพหลักสร้างรายได้ของชาวบ้านตำบลเขาแก้ว

ยางพารานับเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของชาวตำบลเขาแก้วเลยก็ว่าได้ เพราะเกษตรกรชาวตำบลเขาแก้ว เมื่อถูกถามว่า ทำไมถึงเลือกที่จะทำสวนยางพารา ก็จะได้คำตอบเดิมๆอยู่เสมอว่า ยางพาราเป็นพืชที่มีข้อดีหลายอย่าง อย่างแรกคือยางพาราเป็นพืชที่ทำรายได้สม่ำเสมอ เพราะยางพาราสามารถกรีดได้เกือบทุกวัน ยกเว้นวันที่ฝนตกหนักเท่านั้นเอง รวมถึงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีตลาดรองรับ 100% อย่างที่สองคือ ยางพาราเป็นพืชที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ โดยยางพาราต้นหนึ่งสามารถให้น้ำยางได้นานกว่า 15 ปี ช่วงเวลาการทำงานต่อวันเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้นเอง ทำให้ชาวบ้านมีเวลาทำอาชีพเสริมอย่างอื่นได้อีกด้วย และข้อดีอย่างสุดท้ายคือ เกษตรกรมีความคาดหวังต่อราคา ยางพารา ในอนาคตจะสูงขึ้นไปเกินกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ด้วยข้อดีและความคาดหวังดังกล่าวตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ทำให้ยางพาราเป็นพืชที่เกษตรกรชาวตำบลเขาแก้ว นิยมปลูกกันมากเลยทีเดียว อ่านเพิ่มเติม


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางธารทิพย์ สัจวาที ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางธารทิพย์ สัจวาที / นางสาวฐาปนี ดอกแย้ม


วัดเขาหนองปลาไหล...มาวัดยังไงให้เหมือนมาเที่ยวชมธรรมชาติ



วัดเขาหนองปลาไหล เป็นวัดที่เปลี่ยนความคิดของเราในการเข้าวัดไปได้เลยค่ะเพื่อนๆ ทุกคน ด้วยบรรยากาศที่ดี
ความสวยงามของสถาปัตยกรรมต่างๆ และด้วยธรรมชาติของต้นไม้ ทำให้หลายๆคนที่ได้เดินทางมาเห็นต่างพากันหลงไหล รวมไปถึงตัวเราเองด้วย เป็นการมาวัดที่ไม่น่าเบื่อแบบทุกๆครั้ง ที่เมื่อแม่ปลุก เราก็มาแบบงัวเงีย แต่วัดเขาหนองปลาไหลแห่งนี้มีแต่สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เราที่เป็นคนขี้เกียจตื่นเช้าและไม่ชอบการเดินไปเดินมา ยอมเดินเที่ยวชมทั่ววัดโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกันเลยทีเดียว

เรามาเริ่มกันตั้งแต่ทางเข้าวัดเลยดีกว่า ประตูวัดก็ถูกสร้างโดยการนำก้อนหินมาเรียงต่อกัน สองข้างทางช่างร่มรื่น เพราะว่ามีต้นไม้เขียวขจีอยู่ริมสองข้างทาง พอพ้นประตูวัดเข้าไป ก็จะน่าประหลายใจยิ่งกว่านั้น เพราะภายในวัดมีบรรยากาศที่ร่มรื่นเย็นสบาย เดินเข้ามาเรื่อยๆเราจะพบกับส่วนของทางเดินเพื่อที่จะเดินขึ้นไปเที่ยวชมพระอุโบสถก็สวยงามไม่แพ้กัน ตามทางเดินมีมอสขึ้นเต็มสองข้างทางเดิน ตัวพระอุโบสถถูกก่อสร้างด้วยหินขึ้นไปเช่นเดียวกับการสร้าง ซุ้มประตูวัด อ่านเพิ่มเติม


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางธารทิพย์ สัจวาที ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางธารทิพย์ สัจวาที / นายเชิดศักดิ์ กองสุข


กศน.ตำบลเขาแก้ว อำเภอท่าใหม่

กศน.ตำบลเขาแก้ว แต่เดิมใช้ชื่อว่า ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเขาแก้ว ประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว (หลังเดิม) ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อตามนโยบายของรัฐบาล จากคำว่า ศูนย์การเรียนชุมชน เป็นคำว่า กศน.ตำบล แทน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ กศน.ตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีราคาถูก ซึ่งในส่วนของ กศน.ตำบลเขาแก้ว นั้น ได้รับความอนุเคราะห์ จากองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว ในการใช้อาคารสถานที่หลังเดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว ในการจัดตั้งเป็น กศน.ตำบล และ ใช้ชื่อว่า “ กศน.ตำบลเขาแก้ว ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ด้านหน้าของ กศนตำบลเขาแก้ว มีที่ให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนได้ถ่ายรูปสวยๆ เรียกได้ว่าเป็นจุดเช็คอินของ กศน.ตำบลเขาแก้วเลยก็ว่าได้ โดยจุดเช็คอินนี้เป็นผลงานของนักศึกษา กศน.ตำบลเขาแก้วที่ช่วยกันสร้างขึ้นมา เพื่อหวังว่าผู้มาเยือนทุกท่านจะได้รูปสวยๆกลับไปจากกศน.ตำบลเขาแก้วของเรา อ่านเพิ่มเติม...




อ่างเก็บน้ำห้วยตาโบ จันทบุรี


อ่างเก็บน้ำห้วยตาโบ จันทบุรี

การท่องเที่ยวในปัจจุบันและในอดีต ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทุกคนกระทำไปเพื่อสนองความต้องการและเป็นการผ่อนคลายความเครียด และก่อให้เกิดความสุข ความสนุกสนาน จากการพักผ่อนหย่อนใจ เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยว หลายคนก็ต้องนึกถึง การที่ต้องมีการเดินทางไปเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ที่เราไม่เคยไป ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยเห็นมาก่อน หรืออาจจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่ต้องการจะไปอีกเพราะเกิดความประทับใจ

อ่างเก็บน้ำห้วยตาโบ จันทบุรี ตั้งอยู่ในหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วที่ 2 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เปิดทุกวันตั้งแต่ 06.00 – 18.00 น.

ส่วนใครที่มาพักค้างคืนก็สามารถทำได้โดยทางอุทยานจะอำนวยความสะดวกเรื่องพื้นที่กางเต็นท์ ในอุทยานมีห้องน้ำประมาณ 4 ห้อง มีร้านค้าปิดประมาณ 2 ทุ่ม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 039-434528 อ่านเพิ่มเติม..

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ชาวตำบลอ่างคีรี


ชาวตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และคนในประเทศไทยจะอาศัยเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างมหาศาล แต่ในปัจจุบันการเกษตรได้รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมาก ส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิต ประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรมีแนวโน้มมากขึ้น แต่กำลังความสามารถในการผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอต่อความต้องการ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี จึงได้คิดค้นการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร มาใช้แทนปุ๋ยเคมี และได้รับความนิยมเป็นอย่างดี
ในการทำการเกษตรจำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการเลี้ยงดินเพื่อให้ดินเลี้ยงพืช อินทรียวัตถุต่าง ๆ เช่น มูลสัตว์ เศษพืช จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืช โดยทั่วไปเกษตรกรจะนำมาทำเป็นปุ๋ยคอก แต่ใช้เวลาย่อยสลาย 3-4 เดือน พืชจึงนำไปใช้ได้ ปัจจุบันจึงนิยมผลิต ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นการใช้จุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพเข้ามาช่วยเร่งกระบวนการ ทำให้สามารถย่อยสลายได้เร็วขึ้น ภายใน 5-7 วัน ปุ๋ยหมักชีวภาพก็สามารถย่อยสลายได้สมบูรณ์ การผลิตปุ๋ยในลักษณะนี้เป็นการนำวัตถุดิบ ในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย เช่น มูลสัตว์ รำข้าว แกลบ เศษพืช มาทำเป็นปุ๋ยเพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี ได้ปุ๋ยต้นทุนต่ำ ลดรายจ่ายในเรื่องปัจจัยการผลิต เป็นการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อ่านเพิ่มเติม...

การแปรรูปผลิตทางการเกษตร การทำขนุนทอดรสธรรมชาติ

อาชีพหลักของชาวตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผลไม้มากมายนานาชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ขนุน กล้วย ฯลฯ โดยผลไม้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ชาวสวนดำรงชีพได้อย่างมั่นคงและยังเพิ่มรายได้ที่มากมาย ซึ่งการแปรรูปผลไม้ที่ล้นตลาด เกิดจากภูมิปัญญาและความสามารถของคนในชุมชน ทำได้ง่าย สะดวก และวัตถุดิบไม่ต้องไปซื้อหาตามท้องตลาด และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี บ้านอ่างล่าง หมู่ 5 ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ได้มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านอ่างล่าง ซึ่งการทำขนุนทอดรสธรรมชาติ และ กศน.อำเภอมะขาม ได้จัดโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีการพากลุ่มดังกล่าวไปศึกษาดูงานการทำกล้วยกรอบหลากรส ในวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2555 ณ กลุ่มกล้วยกรอบหลากรส อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี อ่านเพิ่มเติม..

สวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

    ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ให้ความหมายของสมุนไพรโดยหมายถึง ผลผลิตธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตย์ จุลชีพ หรือแร่ที่ใช้ผสมปรุงหรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรสมุนไพร สมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรค ทั้งในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เป็นกระแสนิยมของคนทั่วไปในปัจจุบัน บางคนคิดว่าสมุนไพรเป็นเพียงพืชหรือต้นไม้ที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น ทำให้รู้สึกปลอดภัยในการเลือกใช้ทำให้พบปัญหาจากการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกวิธี จนทำให้เกิดโทษต่อตัวของผู้ใช้ได้

    สวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2486 มีพื้นที่รวม 140 ไร่ 53 ตารางวา แบ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่ป่าอนุรักษ์ รวบรวมอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรจำนวนมากกว่า 500 ชนิด ขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ทดลองปลูกพืชสมุนไพรเศรษฐกิจ ผลิตกล้าไม้เพื่อสนับสนุนการปลูกสมุนไพร ได้จัดสร้างโรงล้าง อบ ตากสมุนไพร ทั้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า สำหรับเตรียมสมุนไพรเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการเพาะปลูกสมุนไพร ได้รับการจัดให้เป็นสวนสมุนไพรที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประจำจังหวัดจันทบุรี การจัดตั้งสวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี เริ่มจาก ในปี พ.ศ. 2486 นายแพทย์เฉลิม พรมมาส อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในขณะนั้น เห็นความสำคัญของสวนสมุนไพรที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับงานวิจัย หรือใช้เป็นยา ในยามที่ประเทศเกิดวิกฤต ขาดแคลนยา จึงดำริให้จัดตั้งสวนสมุนไพรขึ้นอีกแห่งในบริเวณ ตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี อ่านเพิ่มเติม

บุญประเพณีวันไหล งานสงกรานต์หมู่บ้านเนินดินแดง ตำบลเทพนิมิต

บุญประเพณีวันไหล งานสงกรานต์หมู่บ้านเนินดินแดง ตำบลเทพนิมิต

    บ้านเนินดินแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.1 ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี มีพื้นที่ติดต่อกับบ้านหนองกก ม.7 ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา มีระยะทางจากหมู่บ้านเนินดินแดงห่างไปจนถึงจุดสิ้นสุดของเขตประเทศไทย ประมาณ 5 ก.ม. ทำให้พื้นที่ของตำบลเทพนิมิตเป็นเขตพื้นที่ชายแดนที่เป็นเขตพื้นที่ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของ อ.โป่งน้ำร้อน เป็นช่องทางการติดต่อค้าขายและส่งผลผลิตทางการเกษตรสินค้าต่างๆ ระหว่างประเทศไทย เวียดนาม และกัมพูชา เป็นเวลามานานภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานต่างๆ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ทั้งฝั่งประเทศไทยและฝั่งกัมพูชา จะมีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันมาก รวมไปถึงการใช้ภาษาชาวบ้านทั้ง 2 แผ่นดินนั้น จะมีเชื้อสายเครือญาติกันเป็นส่วนใหญ่ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ด้วยทั้ง 2 ภาษา แม้แต่ในวันสำคัญทางศาสนาหรือช่วงเทศกาลต่างๆ ชาวบ้านทั้ง 2 ฝั่งจะเข้ามาร่วมกันทำบุญทำกิจกรรมเพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่มีเหมือนกัน



UNSEEN…ดินแดนบ้านเขาหอม

หมู่บ้านเขาหอม ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.5 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ในสมัยก่อนนั้น ชาวบ้านจะพากันย้ายถิ่นฐานมาจากต่างจังหวัด ชาวบ้านเขาหอมส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนามาจากจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม และจากที่อื่น พากันย้ายมาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบอาชีพและสร้างที่อยู่อาศัยกัน โดยเมื่อก่อนนั้นพื้นที่ภายในหมู่บ้านจะเป็นพื้นที่เกษตร ชาวบ้านจะพากันทำไร่มากกว่าการทำสวน เช่น ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด พริก ถั่วลิสง เป็นต้น ซึ่งเมื่อผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนปริมาณมากขึ้น จึงทำให้มีการสร้างลานมัน เพื่อใช้เป็นที่รับซื้อขายผลผลิตของชาวบ้าน จึงทำให้คนสมัยนั้นมักคุ้นชินและพูดติดปาก เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “ลานมัน” ปัจจุบันบ้านเขาหอม มีนางรุ่งอรุณ ทวีผล หรือ ผู้ใหญ่ติ๋ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5



วัดเขาแก้ว (ถ้ำแก้วสวรรค์) แหล่งโบราณคดี 2 แผ่นดิน อำเภอโป่งน้ำร้อน

วัดเขาแก้ว (ถ้ำแก้วสวรรค์) แหล่งโบราณคดี 2 แผ่นดิน

    วัดเขาแก้ว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าถ้ำแก้วสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่รอยต่อของบ้านคลองบอนและบ้านแหลมใหม่ ตำบลเทพนิมิต จะมีทางขึ้นไปสู่ยอดเขา 2 ทาง บริเวณที่เป็นพื้นที่ของวัดที่มีพระจำวัดอยู่นั้นจะใช้ทางฝั่งบ้านแหลมใหม่ ส่วนทางขึ้นเขานั้นจะใช้ทางฝั่งบ้านคลองบอน เมื่อขึ้นไปถึงข้างบนสุดจะมีศาลาและพระพุทธรูปให้สักการะ และมีลักษณะเป็นจุดชมวิวสองแผ่นดิน คือ ไทย-กัมพูชา ที่สามารถมองจากด้านบนจะเห็นวิวของประเทศกัมพูชา และพื้นที่ของตำบลเทพนิมิต และตำบลหนองตาคงในบางส่วนได้ ลักษณะของเขานั้นเป็นภูเขาหินปูน วัดเขาแก้ว (ถ้ำแก้วสวรรค์) จะมีอยู่หลายถ้ำแต่ละถ้ำจะมีความสวยงามแตกต่างกันไป สันนิษฐานโดยกรมศิลปากร น่าจะมีอายุประมาณ 4,000 -10,000 ปี เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจกรรมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูนและเป็นถ้ำที่ค้นพบสมัยโบราณ และอาจจะมีพัฒนาการต่อเนื่อง หรือทิ้งร้างไปแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกในช่วงเวลาที่ทำเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้

อ่านเพิ่มต่อ



กศน.ตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน

 กศน.ตำบลเทพนิมิต ตั้งอยู่ที่วัดป่าเทพนิมิต หมู่ที่ 2 ตำบลเทพนิมิต อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีการประกาศกำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลขึ้นนั้น กศน.ตำบล เทพนิมิต จึงได้รับการอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้านบึงชนังกลาง ม.3 ให้ใช้ศาลากลางบ้านบึงชนังกลางตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ในปี พ.ศ.2553 สำนักงาน กศน. ได้มีประกาศให้เปลี่ยนจากศูนย์การเรียนชุมชนตำบล เป็น กศน.ตำบล จึงทำให้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเทพนิมิต เป็น “กศน.ตำบลเทพนิมิต” จึงได้รับการอนุเคราะห์จาก อบต.เทพนิมิต ให้ใช้ห้องประชุมของ อบต.เทพนิมิต ในการใช้เป็นที่ตั้งของ กศน.ตำบลเทพนิมิต ต่อมาทาง อบต.เทพนิมิตได้มีการขอสถานที่คืนเพื่อใช้ในงานกิจการของหน่วยงาน จึงต้องมีการย้ายสถานที่ตั้งอีกครั้ง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพระครูไพศาล บุญวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอโป่งน้ำร้อน วัดป่าเทพนิมิต ให้ใช้อาคารหลังเก่าเพื่อเป็นที่ตั้งของ กศน.ตำบลเทพนิมิต แต่เนื่องจากอาคารมีความชำรุดและทรุดโทรมอย่างมาก ท่านพระครูจึงได้ทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสร้างอาคาร กศน.ตำลเทพนิมิต เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2561 และเปิดใช้งานตั้งให้เป็นอาคารเรียน กศน.ตำบลเทพนิมิตตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2562 เป็นต้นมา และในปัจจุบันมีนางสาวอมรรัตน์ รัตนวงษ์ ปฏิบัติหน้าที่ ครู กศน.ตำบลเทพนิมิต และรับผิดชอบงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยภายในพื้นที่ตำบลเทพนิมิต





ที่นี่ กศน.อำเภอโป่งน้ำร้อน เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ที่นี่ กศน.อำเภอโป่งน้ำร้อน เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโป่งน้ำร้อนหรือทีมีชื่อย่อเรียกว่า กศน.อำเภอโป่งน้ำร้อน ตั้งอยู่เลขที่ 154/3 ม.1 ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอโป่งน้ำร้อนติดกับหน่วยงานราชการระดับอำเภอหลายแห่ง เช่น ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดจันทบุรี สถานีตำรวจภูธรโป่งน้ำร้อน สำนักงานเกษตรอำเภอโป่งน้ำร้อน เป็นต้น


กศน.อำเภอโป่งน้ำร้อนเดิมได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2536 ในนามของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโป่งน้ำร้อน เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางปัจจุบัน ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาใหม่ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2551 ชื่อ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโป่งน้ำร้อน ซึ่งจะมีพื้นที่ตั้งของอาคารแบ่งเป็น 2 หลังแต่เชื่อมต่อติดกันในลักษณะยาวเป็นอาคารปูนแบบชั้นเดียวเชื่อมต่อระหว่างห้องสมุดประชาชนอำเภอโป่งน้ำร้อนกับส่วนตัวอาคาร กศน.อำเภอ


 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดจันทบุรี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand