TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนร่วมสมัย

 



ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนร่วมสมัย

ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 135/2 หมู่ 4 ตำบลเขาวงกต อำเภอแก่งหางแมว จ.จันทบุรี โดยมี นางสาวอารีรัตน์ พูนปาลเป็นผู้ดูแล พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” น.ส.อารีรัตน์ พูนปาล เปิดเผยว่าศูนย์การเรียนรู้พึ่งพาตนเองร่วมสมัยเกิดขึ้นมาจากการที่ครอบครัวของตนเองเป็นหนี้สินมากกว่า 8 แสนบาทจากการทำเกษตรสมัยใหม่ จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์ ใช้เวลาเพียง 4 ปีก็สามารถปลดหนี้ได้สำเร็จ อีกทั้งปัญหาคือเรื่องสุขภาพ ชาวบ้านป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน และสารเคมีตกค้าง จากการกินผักและผลไม้ที่ปนเปื้อน การใช้ยาปราบศัตรูพืช ยังมีปัญหาต้นทุนการผลิตสูงจึงต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิดการผลิต

พิษภัยของสารเคมีต่อสุขภาพของชุมชน และสาธิตตัวอย่างการสร้างเสริมสุขภาพในวิถีพอเพียงพึ่งพาตนเอง ให้กับเกษตรกรถ่ายทอดความรู้การผลิตอาหารปลอดภัย การลดต้นทุนการผลิต การสร้างแหล่งอาหารในครัวเรือน การใช้พลังงานทดแทน การใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างเพื่อให้นำความรู้ไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพของตนเองและครอบครัว  อ่านต่อ...

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียน โดย นางสาววราภรณ์ ผิวนวล ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาววราภรณ์ ผิวนวล


แหล่งเรียนรู้ในชุมชน “วัดซอยสอง"

 


แหล่งเรียนรู้ในชุมชน “วัดซอยสอง"
ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นปู่รุ่นย่า เล่าขานความเป็นมาของหมู่บ้านซอยสองว่าแต่เก่าก่อนไม่ใช่หมู่บ้านที่อยู่ติดถนนเหมือนปัจจุบัน แต่เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ เมื่อมีผู้คนเข้ามาบุกเบิกตัดไม้ถางป่าสร้างบ้านเรือนและชุมชน จำเป็นต้องมีเส้นทางลำเลียงซุงออกจากป่า จึงทำให้เกิดเป็นเส้นทางลากซุง ต่อมาจึงเรียกเป็นชื่อซอยตามลำดับ ซอยหนึ่ง ซอยสอง เรื่อยไปถึงซอยห้า และใช้ตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านในเวลาต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ที่ตั้งเดิมของวัดซอยสองคือบริเวณบ้านพักครูของโรงเรียนบ้านซอยสองในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนเป็นเพียงที่พักสงฆ์ สร้างเป็นศาลาไม้ขนาดเล็ก มีกุฏิพระ๒-๓ หลัง มีบ้านเรือนอยู่ในละแวกวัดไม่กี่หลังคาเรือน ได้แก่บ้านคุณยายทอง บ้านคุณตาเผือก (ลูกของคุณยายทอง) บ้านคุณตาอิ๊ด เป็นต้น อ่านต่อ...

ขอบคุณข้อมูลจาก วัดซอยสอง
รูปภาพจาก วัดซอยสอง
ผู้เรียบเรียง นางสาวญาณี ขำสุวรรณ ครูกศน.ตำบลสามพี่น้อง

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
        ตั้งอยู่บนถนนท่าหลวง บริเวณหน้าค่ายตากสิน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในแต่ละวันจะมีประชาชนมาสักการะบูชาเป็นจำนวนมาก และในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
อาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลมแห่งนี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวจันทบุรีมายาวนาน แต่เดิมทีเดียวนั้น เป็นเพียงศาลไม้อยู่ด้านข้างศาลหลักเมือง อ่านต่อ...



ผู้ให้ข้อมูล:นามแฝง นาย กาแฟ ภาพ:สัญญา

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

 

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

ตามเราไปเยือนพิกัด ศาลหลักเมือง อีกแห่งในเมืองไทยกันดีกว่า โดยที่นี่จะอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันที่ ศาลหลักเมืองจันทบุรี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองจันท์ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี และยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าพระเจ้าตากทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2310 ให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ชาวจังหวัดจันทบุรีให้ความเคารพสักการะ และมากราบไหว้บูชา ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลกันทุกวัน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดจำนวนมากที่แวะมาสักการะบูชา อ่านเพิ่มเติม....



ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาววนิดา  กิจการ
ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางสาววนิดา  กิจการ
ที่มา https://travel.trueid.net/detail/0Ako3eEpkpJA
ที่มา https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ศาลหลักเมืองจันทบุรี


วัดเกาะเปริด



บ้านเกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ หนึ่งในแหล่งที่สายบุญต้องมาทำบุญไหว้พระวัดเกาะเปริด แล้วไปเที่ยวผจญภัยชมธรรมชาติที่สวยงามของ เกาะโจรสลัด ในตำนานกว่า 160 ปี บ้านเกาะเปริด (เกาะ-เปิด) อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ที่คนต่างพื้นที่มักเรียกผิดว่า เกาะเป-ริด ได้ชื่อว่าเป็นเกาะกลางทะเล โดยในปี พ.ศ.2449 ชาวบ้านได้สร้างวัดเกาะเปริดบนเกาะแห่งนี้ แต่ก็ยังคงสภาพเป็นเกาะ จนกระทั่งปี พ.ศ.2488 หลวงพ่ออวน ฉันโน เป็นเจ้าอาวาส และท่านเป็นพระเกจิทรงวิทยาคม ที่เป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อสุ่น วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ที่ได้ชื่อว่า พระอวนไนล่อน เนื่องมาจากร่ำลือชื่อในเรื่องหนังเหนียว จากนั้นได้เริ่มมีการสร้างสะพานไม้ จนกระทั่งปี พ.ศ.2518 สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติเห็นชอบให้ถมดินสร้างถนนเชื่อมจากแผ่นดินมายังเกาะ จนกระทั่งวัดเกาะเปริดสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558 รวมกาลเวลาแล้ว 109 ปี อ่านเพิ่มเติม...

วัดเกวียนหักเดิมชื่อวัดช่องลม เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปี

 

วัดเกวียนหักเดิมชื่อวัดช่องลม เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปี สิ่งที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ก็คืออุโบสถหลังเก่าที่มีรูปทรงและลวดลายซึ่งสร้างโดยช่างสกุลอยุธยาที่สร้างประมาณ พ.ศ.2130 หลักฐานยืนยันเป็นคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ได้สร้างภายหลังวัดตะปอนน้อยเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งใบเสมาอุโบสถวัดตะปอนน้อยสลักไว้ พ.ศ. 2125 ประกอบกับมีหลักฐานบันทึกการรายงานประวัติวัดเกวียนหักต่อกรมศาสนาว่าได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ วันที่ 20 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2130 การบูรณะวัดเกวียนหักปรากฏหลักฐานว่า คุณพระจินดา พรหมฤทธิ์ (ตำแหน่งนายอำเภอขณะนั้น) ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้บนผนังอุโบสถหลังเก่าว่า“พระจินดา มานะ สละหิรัญ ซื้อสุวรรณปิดพระทั้งสององค์ กับออกทรัพย์ซ่อมแซมอุโบสถ โดยกำหนดพันเศษตามประสงค์ ขอให้สมปรารถนา ปัญญายงค์ สมประสงค์ ปณิธาน นิพพานเอย”

ตำนานเล่าขานความเป็นมาของวัดเกวียนหัก

เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดเกวียนหักสร้างก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2(พ.ศ.2310) และวัดสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2130 เป็นเวลา 180 ปี จึงเป็นตำนานเล่าขานว่า วัดนี้เคยเป็นที่พักทัพของพระเจ้าตากสิน คาดว่าเป็นครั้งที่ยกกองทัพไปโจมตีชมรมชาวพ่อค้าสำเภาที่ทุ่งใหญ่ (ตราด) จากหลักฐานเอกสารประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันทนุมาศ (เจิม)และจากการบอกเล่าของคนที่มีอายุมากที่สุดในชุมชน คือลุงวิเชียร แววสว่าง อายุ 85 ปี และลุงกูล บำรุงวงษ์ อายุ 80 กว่าปี อ่านต่อ...


ชื่อข้อมูล:วัดเกวียนหัก
เจ้าของข้อมูล: โอเคจันทบุรี
ผู้จัดทำ:นายคุ้มเกล้า แสงคำหมี
ที่อยู่: ตำบล เกวียนหัก อำเภอ ขลุง จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22110


วัดหนองอ้อ

 

ลักษณะเด่น

"หลวงพ่อพอดี" พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดหนองอ้อ ต.มะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี สร้างโดยกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ และเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่เททองโดยตั้งพระเศียรขึ้น ตามทฤษฎีของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ทำให้พระพุทธรูปสมบูรณ์งดงามยิ่ง หลวงพ่อพอดีเป็นสมญานามที่ชาวบ้านหนองอ้อขนานนามให้หลวงพ่อฯ เนื่องจากมีเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นความพอดีที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

ประวัติ

วัดหนองอ้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดจันทบุรี แห่งที่ 37 ปัจจุบันมี พระครูโกศลสาธุการ เป็นเจ้าอาวาสวัด ประวัติวัดหนองอ้อ วัดหนองอ้อ สร้างเมื่อปี 2427 และได้รับการประกาศวิสุงคามสีมาเมื่อปี 2492 ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี มีพระครูวิถารจันทรคุณ (เฉียบ จนฺทสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก หลวงพ่อพอดี พระพุทธรูปสง่างามประจำวัด หลวงพ่อพอดี เป็นพระประธานที่ประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่ของวัดหนองอ้อ โดยมีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปคือ หลังจากที่ท่านพระครูนิเทศ- คณานุสิฏฐ์ (เติม อิสฺสรทตฺโต) เจ้าอาวาสวัดหนองอ้อ สร้างอุโบสถหลังใหม่เสร็จแล้ว และได้ย้ายพระประธานเพื่อไปประดิษฐานที่อุโบสถหลังใหม่ ทว่า พระประธานที่ก่อด้วยอิฐถือปูนได้พังทลายลง ท่านพระครูฯ จึงได้ปรารภกับโยมมารดาของขุนหลวงประกอบนิติสาร เพื่อให้ช่วยหาผู้ที่มีจิตศรัทธามาสร้างพระประธาน หลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมา มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งแสดงความประสงค์จะสร้างพระประธานถวายวัดหนองอ้อ โดยบริจาคทุนประเดิม และเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาค อ่านต่อ...

ข้อมูลเนื้อหา เขียนโดย นางสาวพัชชาฎา  สุดประเสริฐ
ภาพประกอบ จาก https://okchanthaburi.com/



จุดชมวิวอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ

จุดชมวิวอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ
อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี

เขื่อนคลองพระพุทธ หรือ อ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ ใน จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านดงจิก ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี มีต้นน้ำอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของเขาสอยดาวมีพื้นที่รับน้ำ เหนือที่ตั้งหัวงาน 188 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำเฉลี่ย 214.80 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ความยาวของลำน้ำถึงที่ตั้งหัวงาน 29.6 กิโลเมตร ลุ่มน้ำสาขา คือ คลองทุ่งกร่าง และคลองพังงอน เขื่อนคลองพระพุทธ นี้ จะกว้างใหญ่มากครอบคลุมพื้นที่ในตำบลหนองตาคง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2542 และเสร็จในปี พ.ศ.2547 เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและการประมง สำหรับคลองพระพุทธ หรืออ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ ทั้งนี้กรมชลประทานยังคงสานต่อโครงการด้วยการสร้างระบบคลองส่งน้ำ ส่งน้ำตรงไปยังพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดน้ำในการทำการเกษตร ที่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ยางพารา ลำใย ผัก และพืชไร่ต่างๆ ซึ่งมีความยาวถึง 106 กิโลเมตร อ่านต่อ


ผู้เรียบเรียง : กิตติพร ปรีพันชู ผู้ถ่ายภาพ : กิตติพร แหล่งข้อมูล โครงการชลประทาน


หมู่บ้าน OTOP นวัติวิถีบ้านหนองบัว

 

หมู่บ้าน OTOP นวัติวิถี

บ้านหนองบัว

ประวัติความเป็นมา

“นมัสการเจ้าแม่บัวขาว เล่าตำนานเขาสำเภาคว่ำ เลิศล้ำบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พิชิตถิ่นชาวเล”

บ้านหนองบัว ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เป็นชุมชนริมทะเลที่มีวิถีดำเนินชีวิตด้วยการทำประมงพื้นบ้าน ทุก ๆ วันจึงมีอาหารทะเลที่สดจากเรือมาจำหน่ายนำรายได้ เข้าสู่ครัวเรือน โดยเฉพาะที่หมู่บ้านสำเภาคว่ำ ณ สำนักปฏิบัติธรรมสำเภาคว่ำ มีพระประธานที่งดงาม พร้อมด้วยทิวทัศน์ทะเล ซึ่งจากบริเวณนี้สามารถนั่งรถซาเล้งไปยังจุดท่องเที่ยวที่สำคัญต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ในหมู่บ้านประกอบด้วย อ่านต่อ...


ผู้ให้มูล รวบรวมจากเว็ปไซต์
คุณวันทนา สุวรรณมณี โทร. 061 672 5988
https://bit.ly/3terLYS
https://th.postupnews.com/2018/11/ban-nong-bua.html
ผู้เรียบเรียง นางนันท์นภัส ปิ่นคำ
ผู้ถ่ายภาพ
https://th.postupnews.com/2018/11/ban-nong-bua.html
http://nawatvithichanthaburi.com/?p=1599





แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงวิถีชุมชนเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจ อ.ท่าใหม่ จันทบุรี

 

ศูนย์สาธิตและเรียนรู้อัญมณี

แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงวิถีชุมชนเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจ อ.ท่าใหม่ จันทบุรี

ศูนย์สาธิตและเรียนรู้อัญมณีพลอยแหวน จันทบุรี โดยมีนายสำราญ รักตันติเกียรติ อยู่บ้านเลขที่ 20/4 หมู่ที่ 4 ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ที่เป็นเหมืองพลอยเก่าที่ยังคงมีการอนุรักษ์การขุดหาพลอยอยู่ในปัจจุบัน และปัจจุบันเริ่มที่จะไม่มีให้เห็นแล้ว และกำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่ปัจจุบัน ลุงสำราญ ที่เป็นเจ้าของเหมืองพลอยได้มีการเปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว และนักเรียน นักศึกษาที่สนใจที่จะเข้าไปดูการทำเหมืองพลอยสามารถที่จะเข้าไปเรียนรู้ และท่องเที่ยวได้



โดยในแต่ละวันก็จะมีประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมเหมืองพลอย วันละ 30-40 คน เพื่อเข้าไปดูการขุดหาพลอยเม็ด ที่มีทั้งพลอยสตาร์ พลอยเขียวส่อง มรกต บุศราคัม และโกเมน ที่เป็นวิถีชีวิตการหาพลอยที่ชาวตำบลพลอยแหวน ได้มีการทำกันมาอย่างยาวนาน โดยเหมืองพลอยของ ลุงสำราญ ที่เปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว และนักเรียน นักศึกษาได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และเพื่อการท่องเที่ยว ลุงสำราญ เผยว่า ทางเหมืองพลอย เพื่อต้องการให้เยาวชนรุ่นหลังๆ และประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ร่วมกันอนุรักษ์ และเห็นถึงวิถีชีวิตการหาพลอยที่ยังหลงเหลืออยู่ ประชาชน นักท่องเที่ยว ตลอดจนนักเรียน และนักศึกษาที่อยาก จะเข้าไป เยี่ยมชม หรือท่องเที่ยว สามารถที่จะติดต่อผ่านทางสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี ได้ทุกวันเวลา
อ่านต่อ...

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายสุทิน ประเสริฐสังข์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ นายสำราญ รักตันติเกียรติ
ข้อมูลอ้างอิง https://www.facebook.com/profile.php?id=100025407840796




กศน.ตำบลคลองน้ำเค็ม

 


กศน.ตำบลคลองน้ำเค็ม

ประวัติความเป็นมา

กศน.ตำบลคลองน้ำเค็ม ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดคลองน้ำเค็ม ตำบลคลองน้ำเค็ม ซึ่งบริเวณ กศน.ตำบลคลองน้ำเค็ม เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดคลองน้ำเค็มโดยขอใช้อาคารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองน้ำเค็มหลังเก่า และต่อมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดย กศน.ตำบลคลองน้ำเค็ม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาให้ชุมชนเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ และสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ด้อย ผู้พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา โดยใช้ กศน.ตำบลเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการประสานงานให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการพัฒนา กศน.ตำบลให้มีศักยภาพและความพร้อมในการบริการ การเรียนรู้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม โดย กศน.ตำบลคลองน้ำเค็มตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพลิ้ว หมู่ที่ 5 ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ลักษณะอาคารเป็นอาคารปูนชั้นเดียว แยกอยู่เป็นเอกเทศ อยู่ใกล้กับโรงพยาบาลส่งเสริมส่งภาพตำบลคลองน้ำเค็ม อ่านต่อ...
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวเมทินี  พาหา
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวเมทินี  พาหา

การศึกษาเพื่อปวงชนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

 

การศึกษาเพื่อปวงชนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอยดาว ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 โดยเป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลาง สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดจันทบุรี โดยแต่งตั้งให้นางอาภรณ์ สวัสดี มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นคนแรก ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2536 จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เดิมศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอยดาว อาศัยบ้านพักข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการอำเภอสอยดาวเป็นสถานที่ทำการชั่วคราว ประมาณ 1 ปี ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บ้านเช่าซึ่งจัดเป็นห้องสมุดชั่วคราว และเป็นที่เรียนวิชาชีพ จนถึงปี 2539 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้าง อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอ จากนายอำเภอสอยดาว(นายสมคิด ธนูวัฒนา) ต่อมาได้รับเงินสนับสนุนจากนักศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสอยดาวและประชาชนอำเภอสอยดาว เป็นเงินทุนในการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานสายสามัญและสายอาชีพจนถึงปัจจุบัน อ่านต่อ....


ผู้เรียบเรียง นางสาวณัจฉรียา  เทศนา
แหล่งที่มา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

สวนลำไย อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

 


ลำไยนั้นปลูกในหลายประเทศ แหล่งปลูกขนาดใหญ่คือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง 26 สายพันธุ์ โดยส่วนมากปลูกในมณฑลกวางตุ้ง 12 สายพันธุ์ ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15 สายพันธุ์ ปลูกในสหรัฐอเมริกา 1 สายพันธุ์ คือพันธุ์โคฮาลา และในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีแหล่งปลูกลำไยขนาดใหญ่ไม่แพ้จากประเทศจีน โดยมักมักปลูกในเวียดนามทางตอนเหนือที่มีอากาศหนาวเย็น โดยพันธุ์ลำไยของเวียดนามนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนได้ในอากาศเย็นจัดจนถึงจุดเยือกแข็ง ซึ่งต่างจากลำไยของประเทศไทยเกิดการกลายพันธุ์เป็นลำไยเมืองร้อน สามารถทนอุณหภูมิสูงได้ถึง 40-43 องศาในฤดูร้อน ลำไยในประเทศไทย

สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มและแยกเป็นชนิดย่อย เช่น กลุ่มลำไยพันธุ์ดี (ลำไยกะโหลก), กลุ่มลำไยป่า, กลุ่มลำไยพื้นเมือง(ลำไยกระดูก), กลุ่มลำไยเครือหรือลำไยเถา(ลำไยชลบุรี)

1. ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวาน แบ่งเป็นอีกสายพันธุ์ย่อยอีก คือ

- ลำไยสีชมพู มีผลใหญ่เนื้อหนา, เมล็ดเล็ก, เนื้อมีสีชมพูเรื่อ ๆ รสดีมากที่สุด

- ลำไยตลับนาค มีผลใหญ่เนื้อหนา, เมล็ดเล็ก, หวานกรอบ, เนื้อแห้ง, เปลือกบาง

- ลำไยเบี้ยวเขียว หรือลำไยอีเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ เนื้อล่อน

- ลำไยอีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์ขนาดกลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่ เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ

- ลำไยอีแดงเปลือกหนา มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่

- ลำไยอีแดงเปลือกบาง ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา  อ่านต่อ....


ข้อมูลเนื้อหาเรื่องราว เขียนโดย นางสาวกิตติยา รัตนนิกร ครู กศน.ตำบลสะตอน

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ นางสาวกิตติยา รัตนนิกร


สงกรานต์สมานสามัคคี สืบทอดประเพณีไทย ตำบลพลิ้ว

 

สงกรานต์สมานสามัคคี สืบทอดประเพณีไทย

ประเพณีวันสงกรานต์ ตำบลพลิ้ว เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นวันบำรุงพระพุทธศาสนาและวัดวาอารามในท้องถิ่น กิจกรรมอย่างหนึ่งในเทศกาลสงกรานต์ คือ การทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ และรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ กิจกรรมเหล่านี้ คือ การบำรุงพุทธศาสนาและการมอบงบประมาณให้วัดในท้องถิ่นของตนๆไว้ใช้จ่ายในการพัฒนาและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆภายในวัดครั้งสำคัญ

สงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 กิจกรรมที่ประชาชนชาวตำบลพลิ้วจะร่วมกันทำในวันสงกรานต์นั้น เริ่มตั้งแต่ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตรถวายพระ หลังจากตักบาตรเสร็จแล้วจึงเลี้ยงพระฉันเช้าที่ศาลาการเปรียญ และสรงน้ำพระพุทธรูป โดยนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาแล้วจึงนำน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ เพื่อแสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปีใหม่  อ่านต่อ


ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวปฏิญญา ผ่องแผ้ว ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย ปังปอนด์ ถ่ายภาพ ข้อมูล TKP อ้างอิง https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1692869464114119&type=3

แหล่งท่องเที่ยว (ชุมชน) น้ำตกเขาบรรจบ

 


แหล่งท่องเที่ยว (ชุมชน) น้ำตกเขาบรรจบ ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

    น้ำตกเขาบรรจบ ตั้งอยู่ในบ้านทุ่งเพล ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี บริเวณโดยรอบ เป็นชุมชน ที่ยังคงความธรรมชาติ อากาศโอโซนที่บริสุทธิ์ สังเกตได้จากเส้นทางการเดินทางเข้าน้ำตก ซึ่งพื้นที่โดยรอบ ของบ้านทุ่งเพลมีความอุดมสมบูรณ์ และเขียวขจีด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ตลอดเส้นทาง ลำธารน้ำตกที่ไหลลงมาจากน้ำตกเขาบรรจบตลอดเวลาโอบล้อมไปด้วยบ้านเรือนชุมชนและโรงแรมที่พักตากอากาศ มาเที่ยวที่น้ำตกเขาบรรจบจังหวัดจันทบุรีแล้ว ก็ต้องพักโฮมสเตย์ริมน้ำที่มีตลอดสายน้ำที่ทอดยาวหลายกิโลเมตร สัมผัสกับบรรยากาศริมน้ำที่สุดแสนจะโรแมนติก อ่านต่อ....


ข้อมูลเนื้อหาเรื่องราว เขียนโดย นายชัยณรงค์ มณีเลิศ
ภาพประกอบ โดย นายชัยณรงค์ มณีเลิศ
เว็บไซต์: okchanthaburi/chillpainai/paikondieow/esportivida
เฟสบุ๊ค : Welovetogo


กศน.อำเภอท่าใหม่ เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

กศน.อำเภอท่าใหม่ 
เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

        ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าใหม่ หรือที่เรียกกันว่า กศน.อำเภอท่าใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 1/2 หมู่ที่ 4 ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยตัวอาคารเคยใช้เป็นห้องสมุดของวัดบูรพาพิทยาราม ต่อมา พระราชจันทโมลีเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี เจ้าอาวาสวัดบูรพาพิทยาราม (พระอารามหลวง) ได้ยกพื้นที่ของอาคารดังกล่าวให้เป็นห้องสมุดประชาชนอำเภอท่าใหม่ ซึ่งได้ใช้งานร่วมกับ กศน.อำเภอท่าใหม่ มีลักษณะเป็นอาคารปูนแบบ 2 ชั้น ได้รับการออกแบบอาคารทั้งภายในและภายนอกอย่างมีเอกลักษณ์สวยงาม  อ่านต่อ....


ข้อมูลเนื้อหา เรียบเรียง และเขียน โดย นางสาวจริยา  รุ่งสว่าง
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ  โดย นางสาวจริยา  รุ่งสว่าง



ภูมิปัญญา “ทฤษฏีแหล่งเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง จากมะเหมี่ยวฟาร์ม”

 

ภูมิปัญญา “ทฤษฏีแหล่งเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง

จากมะเหมี่ยวฟาร์ม”

        มะเหมี่ยวฟาร์มไส้เดือน ของนางสาวศิริพร สรณะ ขับเคลื่อนกระบวนการทำงานโดยใช้หลักแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยยึดแนวทาง “อยู่อย่างพอเพียง”โดยนำพระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗) มาปรับใช้กับตนเองและครอบครัว รวมถึงสมาชิกในกลุ่มเครือข่าย โดยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือเริ่มจากตนเองและครอบครัว ทำให้พอมีพอกินก่อนจากนั้นจึงตามด้วยชุมชน โดยใช้แนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นคง ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่ชาวไทยมาโดยตลอดและได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี อ่านเพิ่มเติม...


ผู้เรียบเรียง นางสาวอมรรัตน์ บุญเพ็ง ครู กศน.ตำบล
ข้อมูลอ้างอิง นางสาวศิริพร สรณะ เจ้าของแหล่งเรียนรู้
ข้อมูลรูปภาพ facebook มะเหมี่ยวฟาร์มไส้เดือน https://www.facebook.com/Jkosalanan
แหล่งข้อมูลจาก เว็บไซต์ มูลนิธิชัยพัฒนา
https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดจันทบุรี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand