TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนร่วมสมัย

 



ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนร่วมสมัย

ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 135/2 หมู่ 4 ตำบลเขาวงกต อำเภอแก่งหางแมว จ.จันทบุรี โดยมี นางสาวอารีรัตน์ พูนปาลเป็นผู้ดูแล พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” น.ส.อารีรัตน์ พูนปาล เปิดเผยว่าศูนย์การเรียนรู้พึ่งพาตนเองร่วมสมัยเกิดขึ้นมาจากการที่ครอบครัวของตนเองเป็นหนี้สินมากกว่า 8 แสนบาทจากการทำเกษตรสมัยใหม่ จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์ ใช้เวลาเพียง 4 ปีก็สามารถปลดหนี้ได้สำเร็จ อีกทั้งปัญหาคือเรื่องสุขภาพ ชาวบ้านป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน และสารเคมีตกค้าง จากการกินผักและผลไม้ที่ปนเปื้อน การใช้ยาปราบศัตรูพืช ยังมีปัญหาต้นทุนการผลิตสูงจึงต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิดการผลิต

พิษภัยของสารเคมีต่อสุขภาพของชุมชน และสาธิตตัวอย่างการสร้างเสริมสุขภาพในวิถีพอเพียงพึ่งพาตนเอง ให้กับเกษตรกรถ่ายทอดความรู้การผลิตอาหารปลอดภัย การลดต้นทุนการผลิต การสร้างแหล่งอาหารในครัวเรือน การใช้พลังงานทดแทน การใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างเพื่อให้นำความรู้ไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพของตนเองและครอบครัว  อ่านต่อ...

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียน โดย นางสาววราภรณ์ ผิวนวล ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาววราภรณ์ ผิวนวล


แหล่งเรียนรู้ในชุมชน “วัดซอยสอง"

 


แหล่งเรียนรู้ในชุมชน “วัดซอยสอง"
ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นปู่รุ่นย่า เล่าขานความเป็นมาของหมู่บ้านซอยสองว่าแต่เก่าก่อนไม่ใช่หมู่บ้านที่อยู่ติดถนนเหมือนปัจจุบัน แต่เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ เมื่อมีผู้คนเข้ามาบุกเบิกตัดไม้ถางป่าสร้างบ้านเรือนและชุมชน จำเป็นต้องมีเส้นทางลำเลียงซุงออกจากป่า จึงทำให้เกิดเป็นเส้นทางลากซุง ต่อมาจึงเรียกเป็นชื่อซอยตามลำดับ ซอยหนึ่ง ซอยสอง เรื่อยไปถึงซอยห้า และใช้ตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านในเวลาต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ที่ตั้งเดิมของวัดซอยสองคือบริเวณบ้านพักครูของโรงเรียนบ้านซอยสองในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนเป็นเพียงที่พักสงฆ์ สร้างเป็นศาลาไม้ขนาดเล็ก มีกุฏิพระ๒-๓ หลัง มีบ้านเรือนอยู่ในละแวกวัดไม่กี่หลังคาเรือน ได้แก่บ้านคุณยายทอง บ้านคุณตาเผือก (ลูกของคุณยายทอง) บ้านคุณตาอิ๊ด เป็นต้น อ่านต่อ...

ขอบคุณข้อมูลจาก วัดซอยสอง
รูปภาพจาก วัดซอยสอง
ผู้เรียบเรียง นางสาวญาณี ขำสุวรรณ ครูกศน.ตำบลสามพี่น้อง

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
        ตั้งอยู่บนถนนท่าหลวง บริเวณหน้าค่ายตากสิน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งในแต่ละวันจะมีประชาชนมาสักการะบูชาเป็นจำนวนมาก และในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
อาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลมแห่งนี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวจันทบุรีมายาวนาน แต่เดิมทีเดียวนั้น เป็นเพียงศาลไม้อยู่ด้านข้างศาลหลักเมือง อ่านต่อ...



ผู้ให้ข้อมูล:นามแฝง นาย กาแฟ ภาพ:สัญญา

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

 

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

ตามเราไปเยือนพิกัด ศาลหลักเมือง อีกแห่งในเมืองไทยกันดีกว่า โดยที่นี่จะอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันที่ ศาลหลักเมืองจันทบุรี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองจันท์ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี และยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าพระเจ้าตากทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2310 ให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ชาวจังหวัดจันทบุรีให้ความเคารพสักการะ และมากราบไหว้บูชา ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลกันทุกวัน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดจำนวนมากที่แวะมาสักการะบูชา อ่านเพิ่มเติม....



ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาววนิดา  กิจการ
ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางสาววนิดา  กิจการ
ที่มา https://travel.trueid.net/detail/0Ako3eEpkpJA
ที่มา https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ศาลหลักเมืองจันทบุรี


วัดเกาะเปริด



บ้านเกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ หนึ่งในแหล่งที่สายบุญต้องมาทำบุญไหว้พระวัดเกาะเปริด แล้วไปเที่ยวผจญภัยชมธรรมชาติที่สวยงามของ เกาะโจรสลัด ในตำนานกว่า 160 ปี บ้านเกาะเปริด (เกาะ-เปิด) อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ที่คนต่างพื้นที่มักเรียกผิดว่า เกาะเป-ริด ได้ชื่อว่าเป็นเกาะกลางทะเล โดยในปี พ.ศ.2449 ชาวบ้านได้สร้างวัดเกาะเปริดบนเกาะแห่งนี้ แต่ก็ยังคงสภาพเป็นเกาะ จนกระทั่งปี พ.ศ.2488 หลวงพ่ออวน ฉันโน เป็นเจ้าอาวาส และท่านเป็นพระเกจิทรงวิทยาคม ที่เป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อสุ่น วัดปากน้ำแหลมสิงห์ ที่ได้ชื่อว่า พระอวนไนล่อน เนื่องมาจากร่ำลือชื่อในเรื่องหนังเหนียว จากนั้นได้เริ่มมีการสร้างสะพานไม้ จนกระทั่งปี พ.ศ.2518 สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติเห็นชอบให้ถมดินสร้างถนนเชื่อมจากแผ่นดินมายังเกาะ จนกระทั่งวัดเกาะเปริดสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558 รวมกาลเวลาแล้ว 109 ปี อ่านเพิ่มเติม...

วัดเกวียนหักเดิมชื่อวัดช่องลม เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปี

 

วัดเกวียนหักเดิมชื่อวัดช่องลม เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปี สิ่งที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ก็คืออุโบสถหลังเก่าที่มีรูปทรงและลวดลายซึ่งสร้างโดยช่างสกุลอยุธยาที่สร้างประมาณ พ.ศ.2130 หลักฐานยืนยันเป็นคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ได้สร้างภายหลังวัดตะปอนน้อยเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งใบเสมาอุโบสถวัดตะปอนน้อยสลักไว้ พ.ศ. 2125 ประกอบกับมีหลักฐานบันทึกการรายงานประวัติวัดเกวียนหักต่อกรมศาสนาว่าได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ วันที่ 20 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2130 การบูรณะวัดเกวียนหักปรากฏหลักฐานว่า คุณพระจินดา พรหมฤทธิ์ (ตำแหน่งนายอำเภอขณะนั้น) ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้บนผนังอุโบสถหลังเก่าว่า“พระจินดา มานะ สละหิรัญ ซื้อสุวรรณปิดพระทั้งสององค์ กับออกทรัพย์ซ่อมแซมอุโบสถ โดยกำหนดพันเศษตามประสงค์ ขอให้สมปรารถนา ปัญญายงค์ สมประสงค์ ปณิธาน นิพพานเอย”

ตำนานเล่าขานความเป็นมาของวัดเกวียนหัก

เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดเกวียนหักสร้างก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2(พ.ศ.2310) และวัดสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2130 เป็นเวลา 180 ปี จึงเป็นตำนานเล่าขานว่า วัดนี้เคยเป็นที่พักทัพของพระเจ้าตากสิน คาดว่าเป็นครั้งที่ยกกองทัพไปโจมตีชมรมชาวพ่อค้าสำเภาที่ทุ่งใหญ่ (ตราด) จากหลักฐานเอกสารประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันทนุมาศ (เจิม)และจากการบอกเล่าของคนที่มีอายุมากที่สุดในชุมชน คือลุงวิเชียร แววสว่าง อายุ 85 ปี และลุงกูล บำรุงวงษ์ อายุ 80 กว่าปี อ่านต่อ...


ชื่อข้อมูล:วัดเกวียนหัก
เจ้าของข้อมูล: โอเคจันทบุรี
ผู้จัดทำ:นายคุ้มเกล้า แสงคำหมี
ที่อยู่: ตำบล เกวียนหัก อำเภอ ขลุง จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22110


วัดหนองอ้อ

 

ลักษณะเด่น

"หลวงพ่อพอดี" พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดหนองอ้อ ต.มะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี สร้างโดยกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ และเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่เททองโดยตั้งพระเศียรขึ้น ตามทฤษฎีของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ทำให้พระพุทธรูปสมบูรณ์งดงามยิ่ง หลวงพ่อพอดีเป็นสมญานามที่ชาวบ้านหนองอ้อขนานนามให้หลวงพ่อฯ เนื่องจากมีเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นความพอดีที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

ประวัติ

วัดหนองอ้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดจันทบุรี แห่งที่ 37 ปัจจุบันมี พระครูโกศลสาธุการ เป็นเจ้าอาวาสวัด ประวัติวัดหนองอ้อ วัดหนองอ้อ สร้างเมื่อปี 2427 และได้รับการประกาศวิสุงคามสีมาเมื่อปี 2492 ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี มีพระครูวิถารจันทรคุณ (เฉียบ จนฺทสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก หลวงพ่อพอดี พระพุทธรูปสง่างามประจำวัด หลวงพ่อพอดี เป็นพระประธานที่ประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่ของวัดหนองอ้อ โดยมีประวัติความเป็นมาโดยสังเขปคือ หลังจากที่ท่านพระครูนิเทศ- คณานุสิฏฐ์ (เติม อิสฺสรทตฺโต) เจ้าอาวาสวัดหนองอ้อ สร้างอุโบสถหลังใหม่เสร็จแล้ว และได้ย้ายพระประธานเพื่อไปประดิษฐานที่อุโบสถหลังใหม่ ทว่า พระประธานที่ก่อด้วยอิฐถือปูนได้พังทลายลง ท่านพระครูฯ จึงได้ปรารภกับโยมมารดาของขุนหลวงประกอบนิติสาร เพื่อให้ช่วยหาผู้ที่มีจิตศรัทธามาสร้างพระประธาน หลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมา มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งแสดงความประสงค์จะสร้างพระประธานถวายวัดหนองอ้อ โดยบริจาคทุนประเดิม และเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาค อ่านต่อ...

ข้อมูลเนื้อหา เขียนโดย นางสาวพัชชาฎา  สุดประเสริฐ
ภาพประกอบ จาก https://okchanthaburi.com/



 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดจันทบุรี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand