เมื่อในอดีตที่ผ่านมา
ก่อนที่ชาวบ้านจะเข้ามาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัว
เดิมพื้นที่นี้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นที่เนินและที่ราบลุ่ม
ตั้งอยู่แถบชายทะเล มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน
มีการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ ต้นยางนา ต้นยางใต้ ตะเคียน ต้นไผ่
ต้นประดู่ ซึ่งเป็นพืชน้ำจืด และป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง ต้นจาก ต้นกวาด ต้นแสม
ต้นลำพู ต้นลำแพน ต้นกะสัก ต้นโปรง ต้นกะบูน ซึ่งเป็นพืชน้ำเค็ม
เนื่องจากนี้ยังเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าเบญจพรรณและป่าชายเลน
จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า
เสือลายพาดกลอน เสือปลา เสือแปลง นากทะเล จระเข้น้ำเค็ม ลิงแสม
(ปัจจุบันสัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่แล้ว)
นอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิด
ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงจากการบอกเล่าและพบเห็นของชาวบ้านในรุ่น ปู่, ย่า ที่เล่าสืบต่อกันมา
และหลักฐานอ้างอิงที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของช้างป่า
ก็คือ แอ่งดินที่ช้างป่ามานอนรวมกันและเกลือกกลิ้ง
เมื่อมีฝนตกก็จะมีน้ำขังในแอ่งดิน
ช้างได้อาศัยน้ำที่ขังอยู่สำหรับกินและนอนเล่นจนมีขนาดกว้างและลึกมากขึ้น มีปรากฏทั่วไปในพื้นที่จำนวน
9 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า “สระ”
ต่อมาชาวบ้านได้ใช้จำนวนสระมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า เรียกว่า “บ้านบางสระเก้า อ่านเพิ่มเติม...
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวเบญจวรรณ ชาตกุล
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวเบญจวรรณ ชาตกุล
No comments:
Post a Comment